ไม้เรดิไพน์ เป็นไม้จริงจากป่าปลูกในประเทศนิวซีแลนด์
ไม้เรดิไพน์ ไม้จริงจากป่าปลูกในประเทศนิวซีแลนด์
ไม้ เรดิไพน์ เป็นไม้จริงจากป่าปลูกในประเทศนิวซีแลนด์ ซึ่งนำมาผ่านกระบวนการถนอมรักษาเนื้อไม้ และกรรมวิธีการป้องกัน ปลวก กันผุ จากประเทศนิวซีแลนด์
ไม้เรดิไพน์ ไม้จริงจากป่าปลูกในประเทศนิวซีแลนด์
ไม้ เรดิไพน์ เป็นไม้จริงจากป่าปลูกในประเทศนิวซีแลนด์ ซึ่งนำมาผ่านกระบวนการถนอมรักษาเนื้อไม้ และกรรมวิธีการป้องกัน ปลวก กันผุ จากประเทศนิวซีแลนด์
นางอภิรดี ตันตราภรณ์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ (คต.)เปิดเผยว่า ไต้หวันได้ออกกฎระเบียบเพื่อควบคุมวัสดุบรรจุภัณฑ์ไม้ที่ใช้บรรจุ/ ขนส่งสินค้า เนื่องจากวัสดุไม้อาจเป็นพาหะศัตรูพืชระบาดที่ทำความเสียหายให้กับพืชปลูก และป่าไม้ในประเทศคู่ค้าได้ ซึ่งจะมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2552 โดยมีสาระสำคัญดังนี้
อุณหภูมิ ? ? ? ? ?ปริมาณสารที่ใช้ต่อครั้ง(g/m3) ?ความเข้มข้นขั้นต่ำที่วัดได้เมื่อเวลาผ่านไป(g/m3)
2 ชั่วโมง ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? 4 ชั่วโมง ?16 ชั่วโมง ?24 ชั่วโมง
21oC หรือสูงกว่า ?48 ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ?36 ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ?31 ? ? ? 28 ? ? ? ?24
16oC หรือสูงกว่า ?56 ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ?42 ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ?36 ? ? ? 32 ? ? ? ?28
10oC หรือสูงกว่า ?64 ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ?48 ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ?42 ? ? ? 36 ? ? ? ?32
1. วัสดุบรรจุภัณฑ์ไม้จะครอบคลุมลังไม้ กล่องไม้ ไม้รองรับสินค้า ไม้รองลาก กรอบไม้ ถังไม้ แกนหรือเพลาที่ทำด้วยไม้ วัสดุไม้กันกระแทก ไม้หมอน ไม้ท่อน ฯลฯ ซึ่งใช้ในการขนส่ง บรรจุ รอง หนุน ผนึกสินค้า โดยยกเว้นวัสดุไม้ต่อไปนี้
1.1 ทำจากไม้ที่มีความหนาน้อยกว่า 6 มม.
1.2 ประดิษฐ์โดยใช้กาว ความร้อน และโดยใช้ความดันหรือหรือใช้กาวและความร้อนร่วมกัน
1.3 เป็นไม้ที่ทาสีหรือย้อมสี
1.4 เป็นไม้ที่ใช้สาร tar หรือวัตถุกันเสียอื่นๆ
1.5 ใช้เป็นตู้บรรจุสินค้าที่เป็นของเหลว
2. วัสดุบรรจุภัณฑ์ไม้จะต้องดำเนินการตามข้อกำหนดของ ISPM # 15 (International Standards for Phytosanitary Measures No. 15) ก่อนส่งออกภายใต้การควบคุมของหน่วยงานกักกันพืชของประเทศ ผู้ส่งออก ด้วยวิธีใดวิธีหนึ่งดังต่อไปนี้
2.1 วิธีรมด้วยสาร Methyl bromide (MB)
ไม้ที่นำมาประกอบเป็นวัสดุบรรจุภัณฑ์ไม้ ต้องผ่านการรมด้วยสาร Methyl bromide ตามอุณหภูมิ อัตรา เวลาและความเข้มข้นตามมาตรฐานขั้นต่ำดังนี้
ทั้งนี้ อุณหภูมิขั้นต่ำต้องไม่น้อยกว่า 10 o C และระยะเวลารมอย่างน้อย 24 ชั่วโมง
2.2 วิธีอบด้วยความร้อน (Heat Treatment)
ไม้ที่นำมาประกอบเป็นวัสดุบรรจุภัณฑ์ไม้ ต้องผ่านวิธีการอบด้วยความร้อนจนแกนกลางของไม้ได้รับความร้อนไม่น้อยกว่า 56 o C เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 30 นาที
3. วัสดุบรรจุภัณฑ์ไม้ที่ผ่านกรรมวิธีตามข้อ 2 จะต้องประทับตราเครื่องหมายรับรองตามมาตรฐาน ISPM #15 ดังนี้
– สัญลักษณ์ IPPC
– XX : ISO two letter country code
– 000 : unique number assigned by the NPPO (National Plant Protection Organization) to the
producer of the WPM
– YY : the approved measure used (Methyl bromide fumigation; HT : heat treatment)
อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศกล่าว เพิ่มเติมว่า ผู้ส่งออกที่ประสงค์จะส่งออกวัสดุบรรจุภัณฑ์ไม้หรือใช้วัสดุบรรจุภัณฑ์ไม้ เพื่อบรรจุสินค้าส่งออก สามารถติดต่อขอการรับรองตามกระบวนการดังกล่าวได้จากกรมวิชาการเกษตร โทรศัพท์ 02 940 6466-8 สำหรับผู้ที่ประสงค์จะขึ้นทะเบียนเป็นผู้ผลิตวัสดุบรรจุภัณฑ์ไม้ตามข้อกำหนด ของ ISPM # 15 สามารถติดต่อขอขึ้นทะเบียนได้ที่กรมวิชาการเกษตรเช่นกัน
โลจิสติกส์ (Logistics) คืออะไร?
โล จิสติกส์ (Logistics) เป็นคำที่มาจากภาษากรีกแปลว่า “ศิลปะในการคำนวณ” ในสมัยโบราณ รวมทั้งในสมัยปัจจุบัน มีการกล่าวถึง การส่งกำลังบำรุงทางทหาร และการประสบชัยชนะ หรือความพ่ายแพ้ในสงครามโดยอาศัยความเข้มแข็ง หรือความอ่อนแอของสมรรถนะในเชิงโลจิสติกส์
คำนิยามที่ใช้นิยามการจัด การโลจิสติกส์ในระดับสากลนั้นจะเป็นคำนิยาม จาก The Council of Logistics Management (CLM) ซึ่งได้ให้คำนิยามการจัดการด้านโลจิสติกส์ไว้ว่า
” กระบวนการในการวางแผน ดำเนินการ และควบคุมประสิทธิภาพ และประสิทธิผลในการไหล การจัดเก็บวัตถุดิบ สินค้าคงคลังในกระบวนการ สินค้าสำเร็จรูป และสารสนเทศที่เกี่ยวข้องจากจุดเริ่มต้นไปยังจุดที่มีการใช้งาน โดยมีเป้าหมายเพื่อสอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภค”
นอกจากนั้นแล้ว Logistix Partners Oy, Helsinki, Fl ให้คำนิยามโลจิสติกส์ธุรกิจว่า
” โครงสร้างของการวางแผนทางธุรกิจ สำหรับการบริหารจัดการกับวัตถุดิบ การบริการการไหลของข้อมูล และเงินทุน ซึ่งรวมถึงข้อมูลที่มีความซับซ้อน การติดต่อสื่อสาร และกระบวนการควบคุม ให้ตรงกับความต้องการในสภาวะแวดล้อมทางธุรกิจปัจจุบัน
พันธกิจของ การบริหารโลจิสติกส์ คือ การวางแผนการดำเนินงานและประสานการดำเนินงานในกิจกรรมต่างๆที่มุ่งบรรลุผลใน ด้านการตอบสนอง ความต้องการของลูกค้า โดยการนำเสนอบริการและคุณภาพในระดับที่เหนือกว่า ด้วยต้นทุนการดำเนินงานที่สามารถแข่งขันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
คำนิยามที่เกี่ยวข้อง
? วิศวกรรมโลจิสติกส์ (Logistics Engineering)
? โลจิสติกส์แบบย้อนกลับ (Reverse Logistics)
? Production Logistics
? Consumer Logistics
? Third Party Logistics
? Global Logistics
บทบาทของโลจิสติกส์
โลจิสติกส์เป็นกุญแจสำคัญในระบบเศรษฐกิจสองแนวทาง คือ
? โลจิสติกส์เป็นรายจ่ายที่สำคัญสำหรับธุรกิจต่างๆ และจะส่งผลกระทบและได้รับผลกระทบจากกิจกรรมอื่น ในระบบเศรษฐกิจ การปรับปรุงประสิทธิผลของกระบวนการด้านโลจิสติกส์ จะส่งผลโดยตรงต่อการปรับปรุงสภาพเศรษฐกิจโดยรวมให้ดีขึ้นได้
? โลจิสติกส์ได้รองรับการเปลี่ยนแปลงและกระบวนการของธุรกรรมทางเศรษฐกิจ และได้กลายเป็นกิจกรรมสำคัญในด้านการสนับสนุนการขายเสมือนหนึ่งเป็นสินค้า และบริการด้วย
? โลจิสติกส์เป็นการเพิ่มอรรถโยชน์ทางด้านเวลาและสถานที่ โดยให้มีการนำสินค้าที่ลูกค้าต้องการเพื่อบริโภคหรือเพื่อการผลิตไปยังสถาน ที่ที่ต้องการ ในเวลาที่ต้องการ ในสภาพที่ต้องการ และในต้นทุนที่ต้องการ
พัฒนาการจัดการโลจิสติกส์
พัฒนาการของโลจิสติกส์ในช่วงตั้งแต่ปี ค.ศ. 1900 เป็นต้นมา อาจสรุปได้ดังนี้
โลจิสติกส์ด้านการทหาร
โลจิสติกส์ เริ่มเป็นที่รู้จักในครั้งแรกสืบเนื่องมาจากสงครามโลก ครั้งที่ 2 และสงครามอ่าวเปอร์เซีย ในความสามารถการกระจายและจัดเก็บยุทธภัณฑ์และกำลังพลอย่างมีประสิทธิภาพและ ประสิทธิผล เป็นกุญแจสำคัญในชัยชนะของกองทัพสหรัฐในครั้งนั้น
การแข่งขันที่รุนแรง
จาก การที่อัตราดอกเบี้ยและต้น ทุนด้านพลังงานสูงขึ้น โลจิสติกส์จึงได้รับความสนใจมากยิ่งขึ้น จากการที่โลจิสติกส์เป็นต้นทุน ในการดำเนินที่สำคัญตัวหนึ่ง ต้นทุนจากโลจิสติกส์จึงเป็นสิ่งที่กำหนด ความอยู่รอดสำหรับหลายๆ องค์กร นอกจากนี้อุตสาหกรรมยุคโลกาภิวัฒน์ยังได้ส่งผลกระทบ ต่อโลจิสติกส์ในหลายแนวทางดังนี้
? การแข่งขันระดับโลกที่มากขึ้น โลจิสติกส์เป็นตัวตัดสินเนื่องจากองค์กรภายในประเทศจะต้องเพิ่มความน่าเชื่อ ถือ และมีการตอบสนองที่รวดเร็วต่อตลาดที่อยู่ใกล้เคียงมากกว่าคู่แข่งที่อยู่ไกล ออกไป
? องค์กรที่ซื้อขายระหว่างคู่ค้า จะพบว่าโซ่อุปทานมีต้นทุนสูงและความซับซ้อนมากขึ้น การบริหารโลจิสติกสืที่ดีจึงมีความจำเป็นเพื่อสร้างโอกาสในการแข่งขันอย่าง เต็มที่ทั่วโลก
กิจกรรมหลักในการจัดการโลจิสติกส์
กิจกรรมต่างๆ ที่อยู่ในขอบข่ายการกระบวนการโลจิสติกส์ ประกอบด้วย
? งานบริการลูกค้า
? การวางแผนเกี่ยวกับตำแหน่งที่ตั้งของอาคารโรงงาน คลังสินค้า
? การพยากรณ์และการวางแผนอุปสงค์
? การจัดซื้อจัดหา
? การจัดการสินค้าคงคลัง
? การจัดการวัตถุดิบ
? การเคลื่อนย้ายวัตถุดิบ
? การบรรจุหีบห่อ
? การดำเนินการกับคำสั่งซื้อ
? การขนของและการจัดส่ง
? โลจิสติกส์ย้อนกลับ (อาทิเช่น การจัดการสินค้าคืน)
? การจัดการกับช่องทางจัดจำหน่าย
? การกระจายสินค้า
? คลังสินค้าและการเก็บสินค้าเข้าคลัง
? การจราจรและการขนส่ง
? กิจกรรมการแปรรูปเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่
? การรักษาความปลอดภัย
การ เชื่อมประสานกันของกิจกรรมต่างๆ เหล่านี้เพื่อบรรลุถึง ความร่วมมือกันในการวางแผน, การดำเนินการ, การควบคุมสินค้าและการบริการ และการไหลของข้อมูลผ่านองค์กรอย่างประสานสอดคล้องมีประสิทธิภาพ คือ สิ่งที่รู้จักกันทุกวันนี้ว่า โลจิสติกส์
สรุปแล้ว การจัดการโลจิสติกส์ คือ กระบวนการจัดการและกระบวนการสารสนเทศ ที่ทำหน้าที่เป็นเสมือนแกนกลาง ในการแสวงหาแหล่งของวัตถุดิบและบริการ, การจัดหา, การเก็บสินค้าเข้าคลัง และการจัดส่งผลิตภัณฑ์ ที่ถูกต้องไปยังสถานที่ที่ถูกต้องในเวลาที่พอเหมาะ โดยมีการเก็บสินค้าคงคลัง, การสิ้นเปลืองเวลา ค่าใช้จ่าย, ความเพียรพยาม. และเงินทุน น้อยที่สุดเพื่อที่จะทำให้ลูกค้าพึงพอใจ อย่างมีประสิทธิผล