การรับและส่งสินค้า
1. ขอความร่วมมือจากซัพพลายเออร์ให้ส่งสินค้าเป็นแบบใส่พาเลทมากขึ้น ลองเปรียบเทียบผลการปฏิบัติงานดู หากขนถ่ายสินค้าที่ไม่บรรจุพาเลทต้องใช้พนักงาน 3 คนและใช้เวลาถึง 4 ชม. กับการขนสินค้าจำนวนเท่ากัน แต่การใส่พาเลทและใช้พนักงานคนเดียวทำเสร็จภายใน 30 นาที อย่างไหนจะคุ้มกว่ากัน ร้านค้าปลีกรายใหญ่บางแห่งจะกำหนดขนาดและแบบพาเลทให้ซ้อนกันได้ด้วย เพื่อไม่ต้องเสียเวลาขนถ่ายใหม่ คู่ค้ารายใดไม่ปฏิบัติตามก็จะถูกปฏิเสธการรับสินค้า
2. วางแผนจัดเก็บสินค้าด้วยพาเลทให้เกิดประโยชน์สูงสุด บางครั้งอาจจำเป็นต้องจัดพาเลทในคลังสินค้าเพื่อจัดเก็บสินค้าที่เข้ามาจาก ตู้คอนเทนเนอร์ที่ไม่ใส่พาเลทด้วย ในกรณีนี้ อาจต้องหาโปรแกรมคำนวณการจัดพาเลทมาช่วยงาน เพียงใส่ตัวเลขขนาดคาร์ตัน เครื่องก็จะคำนวณรูปแบบการจัดวางที่มีประสิทธิภาพที่สุดออกมา แต่ต้องแจ้งพนักงานจัดพาเลทใช้ให้เหมาะกับงาน
3. จัดตั้งพาเลทแนวสูงหากคลังสินค้ามีพื้นที่พอ เพราะการวางสูงขึ้นไปจะทำให้ขนย้ายสินค้าได้มากชิ้นต่อครั้ง ช่วยลดจำนวนครั้งในการขนถ่ายลง แต่ต้องดูสมรรถนะของโฟล์กลิฟท์ที่ใช้ด้วยว่าไปกับความสูงได้
4. ขอให้ซัพพลายเออร์จัดสินค้ารายการเดียวกันอยู่รวมกัน เช่น สินค้าชนิดหนึ่งส่งมา 12 คาร์ตัน สินค้านั้นก็ควรจะอยู่ที่เดียวกันภายในคอนเทนเนอร์ ไม่ใช่อยู่ด้านหน้า 4 คาร์ตัน ตรงกลาง 4 คาร์ตันและที่เหลืออยู่ในสุดของตู้ บริษัทบางแห่งจัดพิมพ์คู่มือการขนถ่ายสินค้าให้กับซัพพลายเออร์ด้วย หากรายใดไม่ปฏิบัติตามจะถูกปรับ
5. ประสานงานกับ carrier ให้มาส่งของนอกเวลาพีคไทม์ พนักงานจะได้ขนของโดยไร้ความกดดัน และคนขับรถก็ไม่ต้องต่อคิวนาน หรือต้องขับไปจอดหลบตรงนั้นตรงนี้ระหว่างรอ ซึ่งอาจทำให้ถูกปรับเพราะเกิดความล่าช้าที่คาดไม่ถึง
6. บริหารคำสั่งซื้อแบบรายสัปดาห์หรือตามช่วงพีคของฤดูกาลล่วงหน้า เมื่อจัดการแพ็คเรียบร้อยแล้วก็ส่งไปเก็บ ณ จุดเตรียมส่งได้เลย วิธีการนี้เรียกว่า pack-and-hold orders คือ เตรียมออร์เดอร์ล่วงหน้าแล้วรอไว้เตรียมส่ง วิธีนี้เหมาะกับออร์เดอร์มาตรฐานที่สามารถหยิบนอกเวลาพีคไทม์และเก็บไว้ที่ จุดเตรียมส่งจนถึงกำหนดวันส่ง สามารถใช้ trailer และพาเลท ณ จุดเตรียมส่ง เป็นที่เก็บออร์เดอร์ล่วงหน้าได้
7. ประสานงานกับซัพพลายเออร์ให้บรรจุสินค้าให้เสร็จก่อน (pre-packs) บริษัทที่ทำอย่างนี้คือบริษัทเสื้อผ้าที่มักสั่งให้ผู้ผลิตในต่างประเทศติด บาร์โค้ด อาทิ รุ่น สี หรือขนาด ให้เสร็จก่อนทำการบรรจุ เมื่อสินค้าที่สั่งมาถึงศูนย์กระจายสินค้า ก็สามารถสแกนแล้วติด label ใหม่ (เพื่อให้ตรงตามการจัดสรรพื้นที่และชั้นเก็บของที่เตรียมไว้ล่วงหน้า) และส่งต่อไปยังพื้นที่ส่งผ่าน (cross dock) ไปตามร้านค้าที่กำหนดได้เลย
การเก็บสินค้า
8. ทบทวนเส้นทางของการหยิบเพื่อหาทางลดระยะทางในการทำงาน สินค้าที่ขายดีและเร็ว ควรจัดเก็บใกล้ประตูเข้าออกมากที่สุด เพื่อให้หยิบได้เร็ว ย้ายสินค้าที่พ้นฤดูกาลลึกเข้าไปข้างในแทน
9. เพิ่มชั้นเล็กเพื่อเก็บสินค้าที่มีรายการสินค้า (SKU) น้อย ปัจจุบันมีวิธีเพิ่มประสิทธิภาพคลังสินค้าด้วยการสั่งสินค้าเป็นกล่องแทน สั่งแบบเต็มพาเลท เพื่อให้สินค้าในคลังหมุนเวียนได้เร็ว การมีชั้นย่อยเพื่อเก็บสินค้าประเภทนี้ทำให้หาของได้ง่าย
10. สินค้าพวกลูกฟูกกินเนื้อที่ ไม่ควรสั่งมาเก็บให้เปลืองพื้นที่มีค่าในคลังสินค้า สินค้าประเภทนี้ควรสั่งเป็นแบบ just-in-time มากที่สุด
11.จัดการเคลียร์คลังสินค้าทุกจุดเป็นระยะๆ เพราะทิ้งไว้นานๆ คลังสินค้าจะรก กลายเป็นที่เก็บของไม่จำเป็น สิ้นเปลืองพื้นที่มีค่าโดยใช่เหตุ ควรย้ายของที่ไม่ใช้ประโยชน์ออกไป หรือคิดค่าเก็บค่ารักษาจากหน่วยงานภายในบริษัทด้วยหากมีการนำมาฝากเก็บ