ส่งสินค้าออกต้องทำอย่างไรบ้าง !!!
เชื่อว่าธุรกิจของหลายท่านที่เริ่มโกอินเตอร์อาจจะมีลูกค้าต้องการสั่งสินค้าไปลองขาย หรือท่านหาลูกค้าได้แล้วลูกค้าอยากลองสั่งไปเป็น Trial order แน่นอนที่สุดว่าหากคู่ค้าที่สั่งสินค้าเป็นบริษัทใหญ่ และนำเข้าสินค้ามาเป็น เวลานาน สินค้าส่วนใหญ่ที่จะส่งออกจะต้องมีการระบุวิธีการแพ็คในหีบห่อที่เป็นมาตรฐานของเขาอยู่แล้ว เพื่อให้สะดวกในการนำไปจัดจำหน่าย เหตุผลอีกประการหนึ่งก็คือเพื่อให้สินค้าไปถึงปลายทางอย่างปลอดภัยไม่มี สินค้าแตก หัก ชำรุด
ดังที่ได้กล่าวไว้ในข้างต้น หากลูกค้าหรือเราได้ทำการตกลงรายละเอียดไว้เรียบร้อยแล้ว ก็ไม่มีปัญหาอะไร ท่านก็แค่ปฏิบัติตามที่ได้ตกลงกันไว้อย่างเคร่งครัดแต่หากไม่ได้ตกลงกันไว้ อาจเป็นเพราะใหม่ทั้งผู้ซื้อและผู้ขายในเรื่องพาเลทที่จะวางสินค้าจะเลือกพาเลทอย่างไรให้สะดวก ประหยัด และที่สำคัญที่สุด คือความปลอดภัย
หลักง่ายๆในการเลือกพาเลท
1. อย่างแรกคือในประเทศที่เราจะส่งสินค้าไปนั้นมีการบังคับใช้ ISPM15 หรือที่เรียกกันติดปากว่า IPPC ไหม?
- ศึกษาเรื่องกฎใหม่ลังไปนอก? คลิกได้ที่นี่
- ตรวจเช็ครายชื่อประเทศที่บังคับใช้ ISPM15 , IPPC? คลิกได้ที่นี่
- ต้องทำความเข้าใจกับ ISPM15 และ IPPC ให้เข้าใจ
2. สำหรับสินค้าที่อยู่ในกล่องหรือหีบห่อที่เป็นทรงเรขาคณิต
เช่น กล่องสี่เหลี่ยม ทรงกระบอก ฯลฯ ที่สามารถวางเรียงกันได้ง่ายๆ บนพาเลท เวลาเรียงสินค้าบนพาเลทเพื่อใส่ตู้คอนเทนเนอร์ ต้องให้กล่องหรือสินค้าที่อยู่ด้านล่างสุด สามารถรับน้ำหนักของสินค้าที่อยู่ด้านบนสุดได้ เพื่อป้องกันไม่ให้กล่องบุบ บี้ แบนเพราะสินค้าส่วนใหญ่จะต้องมีการขนย้ายหรือขายต่อไป หากกล่องที่เราส่งไปมีความเสียหายแน่นอนที่สุดว่าต้องมีใครเดือดร้อนแน่ๆ ซึ่งก็คงไม่พ้นเราๆ ท่านๆ ที่เป็นผู้ส่งสินค้าไปนั่นเอง
3. เรื่องต่อมาก็คือในกรณีที่สินค้าบรรจุในคอนเทนเนอร์
ขนาดของพาเลทต้องสัมพันธ์กับขนาดของตู้คอนเทนเนอร์โดยทั่วๆไป ในวงการต่างๆ จะมีขนาดที่แตกต่างกัน เช่นวงการอิเลคโทรนิคส์จะนิยมใช้ขนาด 1100 x 1100 มม.หากเป็นการส่งออกไปยุโรปจะนิยมใช้พาเลท EURO (EPAL Pallet) ในสหรัฐอเมริกาส่วนใหญ่จะนิยมขนาด1000x1200 มม.
ปัญหาที่ตามมาติดๆ ก็คือ หากลูกค้าไม่ได้กำหนดไว้ล่ะ?
ถ้าสินค้าเข้าตู้และมีจำนวนไม่มากคือไม่เต็มตู้ให้ใช้ขนาด 1100 x 1100 มม.
- ส่งสินค้าไปยุโรปให้เลือกใช้ EURO Pallet (EPAL Pallet)
- ส่งสินค้าไปที่อื่นๆให้ใช้พาเลท 1100 x 1100 มม.
4. ส่งออกไปประเทศไหนบ้างที่ต้องระวังในเรื่องพาเลท?
ข้อนี้บรรดาผู้ส่งออกรู้ดีเกือบทุกราย ออสเตรเลียครับ วิธีการส่งออกไปออสเตรเลียนั้นประเด็นสำคัญอยู่ที่ไม้ที่จะใช้ทำพาเลท จะต้องไม่มี รา เห็ด และ ลายดำๆ บนไม้เด็ดขาด เพราะหน่วยงานที่ดูแลเรื่อง Quarantine ที่โน่นเขาเอาจริง
ดังนั้น หากท่านต้องการส่งออกไปออสเตรเลีย ควรหา Supplier พาเลทที่ไว้ใจได้เท่านั้น
5. พาเลท Recycle นำมาใช้ได้หรือไม่?
พาเลท Recycle หรือ พาเลทมือสองสามารถนำมาใช้ได้ หากยังไม่แตกหักเสียหาย และได้ผ่านกระบวนการตามข้อบังคับของ IPPC ใหม่ พร้อมมีเครื่องหมายประทับของผู้ขายที่ได้รับอนุญาต แต่ที่สำคัญที่สุดก็คือได้ทำการตกลงกันและลูกค้ายอมรับ ส่วนกรณีที่ไม่ตรงกับข้อใดเลยเช่น สินค้ามีรูปทรงไม่แน่นอน ซึ่งส่วนใหญ่จะได้แก่สินค้าประเภทงานหัตถกรรม พวกแจกันหรืองานปั้นต่างๆ เป็นต้น สินค้าต่างๆ เหล่านี้แนะนำให้ทำเป็นลัง (Crate) ให้แข็งแรง และวางบนพาเลทแบบ 4 ทางอีกทีหนึ่ง ฟังดูอาจยุ่งยากแต่เพื่อความปลอดภัยก็จำเป็นนะค่ะ