กฎใหม่ลังไม้ไปนอก

กฎใหม่ลังไม้ไปนอก



หมายเหตุ : จากบทความในเว็บไซต์ของกรมวิชาการเกษตร ขอขอบคุณผู้แต่งคือคุณ อังคณา สุวรรณกูฎ

ปีหนึ่ง ๆ ประเทศไทยส่งสินค้าไปต่างประเทศเป็นจำนวนมาก นำเงินตราเข้าสู่ประเทศมิใช่น้อย และสิ่งที่ติดพ่วงไปกับสินค้าเหล่านั้น ถือว่าเป็นของแถมก็คือ ลังไม้ แผ่นรอง หรือวัสดุกันกระแทกต่าง ๆ ซึ่งน่าจะดี ซื้อสินค้าแถมบรรจุภัณฑ์เช่นสินค้าที่นำเข้ามาบ้านเราก็มีสิ่งเหลานี้แถมมา ด้วยเช่นกัน และมีผู้คนนำไปใช้ประโยชน์ต่ออีกหลากแบบ ไม่ว่าจะเป็นการนำกลับมาใช้ใหม่ หรือแปลงเป็นเครื่องใช้เก๋ ๆ แล้วแต่ไอเดียของแต่ละคน ในขณะที่ผู้คนระดับรากหญ้าของสังคมนำของแถมเหล่านี้มาสร้างเป็นที่ซุกหัวนอน ได้ดีที่เดียว
สำหรับแง่มุมของงานกักกัน (Quarantine) ของแถมเหล่านี้ช่างน่าสนใจเหลือเกิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งตั้งแต่เดือนมีนาคม 2545 เป็นต้นมา สิ่งเหล่านี้ถูกมองว่าเป็นพาหะนำแมลงจากซีกโลกหนึ่งมายังอีกซีกโลกหนึ่งได้ เป็นอย่างดี คาดว่าการแพร่ระบาดของแมลงต่างถิ่นอาจเกิดขึ้นมาจากลังไม้ วัสดุบรรจุภัณฑ์เหล่านี้ก็เป็นได้มองในมุมกลับกัน การค้าขายระหว่างประเทศไทยโดยมีของแถมเป็นลังไม้และบรรจุภัณฑ์ต่าง ๆ ที่ทำจากไม้นั้นมีมาตั้งแต่อดีตกาล แมลงต่าง ๆ เหล่านี้หากมีการแพร่กระจายด้วยลังไม้เป็นพาหะ ก็น่าจะแพร่กระจายมาตั้งนานแล้ว บ้านเธอก็มี บ้านฉันก็มีไม่น่าจะเป็นปัญหาแต่อย่างใด แต่ความจริงหาเป็นเช่นนั้นไม่
"ฉีกซอง? ฉบับนี้ ขอนำท่านผู้อ่านไปรู้จักกับกฎใหม่ของการจัดการวัสดุบรรจุภัณฑ์ที่ทำจากไม้ใน การการส่งออกสินค้าไปยังต่างประเทศ เป็นมาและเป็นไปเช่นไร โปรดติดตาม?

IPPC และ ISPM หมายเลข 15
ภายใต้องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) มีอนุสัญญาอยู่ฉบับหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับการอารักขาพืชระหว่างประเทศ อนุสัญญาฉบับนั้นคือ International Plant Protection Convention มีชื่อย่อภาษาอังกฤษ IPPC หรือ อนุสัญญาอารักขาพืชระหว่างประเทศ โดยอนุสัญญาดังกล่าวได้รับการเสนอเข้าสู่การพิจารณาของที่ประชุมใหญ่องค์การ อาหาร และเกษตรแห่งสหประชาชาติ ครั้งที่ 6 เมื่อเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1951 ที่ประชุมมีมติเห็นชอบต่ออนุสัญญาฯ ประเทศสมาชิกตึงได้ร่วมลงนามและให้สัตยาบัน ทำให้อนุสัญญาดังกล่าวมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 3 เมษายน ค.ศ. 1952 โดยได้มีการปรับปรุงอนุสัญญามาเป็นลำดับ ตามข้อมูลทางวิทยาศาสตร์และสถานการณ์ระหว่างประเทศที่เปลี่ยนแปลงไป? ฉบับที่ใช้ในปัจจุบัน? คือ? ฉบับที่ปรับปรุงแก้ไขในปี ค.ศ. 1997 ปัจจุบันมีสมาชิกทั้งสิ้น 127 ประเทศ (กุมภาพันธ์ 2547) ซึ่งประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่ร่วมลงนามในปี ค.ศ. 1951 และได้ให้สัตยาบันในปี ค.ศ. 1978

อนุสัญญาดังกล่าวมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อหามาตรการที่เหมาะสมกำหนดให้ประเทศ สมาชิกนำไปปฏิบัติ เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของศัตรูพืชจากประเทศหนึ่งไปสู่ประเทศหนึ่ง อันเป็นสาเหตุให้เกิดความสูญเสียอย่างรุนแรงต่อระบบนิเวศน์และเศรษฐกิจของ ประเทศเหล่านั้น ทั้งนี้มาตรการที่ IPPC กำหนดเป็นมาตรการสมัครใจ ประเทศสมาชิกใดต้องการนำไปปฏิบัติก็ได้ หรือหากไม่ปฏิบัติไม่ว่ากัน แต่ประเทศสมาชิกที่นำไปปฏิบัติต้องแจ้งเวียนให้ทุกประเทศได้ทราบก่อนล่วง หน้า มาตรการดังกล่าว เรียกว่ามาตรฐานมาตรการสุขอนามัยพืชระหว่างประเทศ และ ISPM ซึ่งย่อมาจาก International Standards for Phytosanitary Measures

อย่างไรก็ตาม ประเทศที่เป็นภาคีอนุสัญญา IPPC สามารถใช้สิทธิแสดงความเห็นต่อ ISPM ที่ที่ประชุมใหญ่เสนอได้ และสามารถขอปรับปรุงแก้ไขได้หากมีข้อมูลทางวิทยาศาสตร์สนับสนุน โดยความเห็นชอบจากที่ประชุมใหญ่ ทั้งนี้อนุสัญญาดังกล่าวได้รวมไปถึงพืชปลูกและพืชป่าด้วยเช่นกัน ดังนั้นประเทศภาคีอนุสัญญาจึงต้องกำหนดประเภทของศัตรูพืชที่เป็นศัตรูทาง กักกัน หรือศัตรูพืชที่บ้านเราไม่มีและศัตรูพืชที่ไม่ใช่ศัตรูทางกักกัน อาจเรียกอีกอย่างว่าศัตรูพืชที่บ้านเรามีอยู่แล้วก็ได้รายงานสถานการณ์ศัตรู พืชของประเทศ รวมทั้งกำหนดมาตรการ SPS ของประเทศให้สอดคล้องกับ ISRM และให้ความร่วมมือระหว่างประเทศด้วยการสนับสนุนให้มีการพัฒนาและใช้มาตรการ ระหว่างประเทศในการกำหนดมาตรการสุขอนามัยพืช ทั้งในระดับภูมิภาคและระดับนานาชาติ

สำหรับ ISP นั้น ที่ประชุมใหญ่ของ IPPC ได้ผ่านความเห็นชอบมาแล้วจำนวนทั้งสิ้น 19 หมายเลข ครอบคลุมกระบวนการกักกันพืชทั้งหมด ทั้งการวิเคราะห์ความเสี่ยงศัตรูพืช ระบบการกักกัน การออกใบรับรอง การแจ้งเวียน การจัดการศัตรูพืชก่อนการส่งออกด้วยวิธีการต่าง ๆ การใช้เครื่องหมายสัญลักษณ์ การให้คำนิยามการจัดทำรายการศัตรูพืช เป็นต้น ซึ่ง IPSM หมายเลข 15 เป็นมาตรฐานที่ประกาศเมื่อเดือนมีนาคม 2545 เรียกว่า Guidelines for Regulating Wood Packaging Material in International Trade หรือ แนวทางการควบคุมวัสดุบรรจุภัณฑ์ไม้เพื่อการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งมาตรฐานดังกล่าวนับว่าเป็นมาตรฐานกลางที่ประเทศสมาชิกสามารถนำไปใช้เป็น แนวทางในการออกมาตรการของแต่ละประเทศสำหรับการควบคุมวัสดุที่ใช้ขนส่งสินค้า ระหว่างประเทศที่ทำจากไม้ ซึ่งเชื่อว่าเป็นแหล่งอาศัยของศัตรูพืช เช่น ลังไม้ แท่นรอง วัสดุกันกระแทก เป็นต้น

ปัจจุบันประเทศที่นำ ISPM หมายเลข 15 มาบังคับใช้ มีอยู่หลายประเทศและระกับความเข้มงวดแตกต่างกัน ตัวอย่างเช่น กลุ่มประเทศอเมริกาเหนือ เช่น สหรัฐอเมริกา แคนาดา และเม็กซิโก ได้ประกาศใช้ เมื่อวันที่ 2 มกราคม 2547 แต่ยังไม่เข้มงวดมากนัก โดยผู้ที่ไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดจะได้รับการแจ้งเตือนเป็นลายลักษณ์ อักษร กลุ่มสหภาพยุโรป แจ้งว่าจะใช้ ISPM หมายเลข 15 ในวันที่ 1 กรกฎาคม 2547 นี้ สำหรับวัสดุบรรจุภัณฑ์จากไม้และวันที่ 1 กรกฎาคม 2550 สำหรับวัสดุกันกระแทกแต่ยังไม่ได้กำหนดมาตรการเข้มงวดกรณีที่ไม่ปฏิบัติตาม เงื่อนไข กลุ่มประเทศเอเชีย ประเทศที่ประกาศใช้ ได้แก่ อินเดีย โดยมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 มิถุนายน 2547 สำหรับออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ได้ประกาศใช้ไปเรียบร้อยแล้วการดำเนินการ สำหรับวัสดุบรรจุภัณฑ์ไม้ตาม ISPM หมายเลข 15 ประเทศที่ประกาศใช้สามารถดำเนินการด้วยมาตรการที่เข้มงวด เช่น กัก เผา ส่งคืน หรือฝังทำลายก็ได้ หากวัสดุบรรจุภัณฑ์นั้นไม่เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนด

ข้อกำหนดสำหรับวัสดุบรรจุภัณฑ์ไม้เพื่อการส่งออก
เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2547 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (นายสมศักดิ์ เทพสุทิน) ในฐานะประธานคณะกรรมการมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ ได้ลงนามในประกาศคณะกรรมการมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ เรื่อง ข้อกำหนดสำหรับวัสดุภัณฑ์ไม้เพื่อการส่งออก โดยข้อกำหนดดังกล่าวเป็นมาตรการสมัครใจสำหรับผู้ส่งออกที่ประสงค์จะส่งออก สินค้าที่มีวัสดุบรรจุภัณฑ์ที่ทำจากไม้ไปยังประเทศที่กระกาศใช้ ISPM หมายเลข 15 ในประกาศฉบับนี้ได้ให้รายละเอียดเกี่ยวกับวิธีการปฏิบัติ การควบคุม และการให้การรับรองอย่างครบถ้วน จึงขอสรุปเฉพาะประเด็นสำคัญมานำเสนอให้ท่านผู้อ่านทราบเป็นข้อมูล ส่วนในรายละเอียดนั้น ผู้ปฏิบัติต้องเรียนรู้อีกพอสมควร

วัสดุบรรจุภัณฑ์ไม้ หมายถึง วัสดุหรือส่วนประกอบที่ทำจากไม้ (ไม่รวมผลิตภัณฑ์กระดาษ) ใช้เป็นบรรจุภัณฑ์หรืออุปกรณ์ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการขนส่งสินค้าไปต่าง ประเทศ ตัวอย่างวัสดุที่เข้าข่ายวัสดุบรรจุภัณฑ์ไม้ เช่น ลังไม้แบบโปร่ง กล่องไม้ ถังไม้ ไม้รองสินค้า วัสดุไม้กันกระแทก ลังไม้แบบทึบ ไม้รองมุมก้นกระแทก ไม้รองลาก และ load broads ซึ่งผลิตโดยใช้วัตถุดิบไม้หรือวัสดุบรรจุภัณฑ์ไม้ที่นำกลับมาใช้ใหม่ ทั้ง นี้ไม่รวมวัสดุบรรจุภัณฑ์ที่ผลิตจากไม้แปรรูป วัสดุดิบไม้ที่มีความหนาไม่เกิน 6 มิลลิเมตร และผลพลอยได้จากไม้แปรรูป ได้แก่ ไส้ไม้ ขี้เลื่อย ฝอยไม้ และขี้กบ เนื่องจากวัสดุเหล่านี้มีโอกาสที่ศัตรูพืชจะติดไปน้อย เช่นเดียวกับวัสดุบรรจุภัณฑ์ที่ทำจากไม้ที่ผ่านการกระบวนการจนไม่มีความ เสี่ยงทางสัตรูพืช เช่น ไม้อัด ไม้เคลือบน้ำยา แผ่นไม้วีเนียร์ ไฟเบอร์บอร์ด Particle board Oriented strand board ก็ไม่ต้องนำไปดำเนินการตามข้อกำหนดนี้ สำหรับแมลงศัตรูพืชที่คาด ว่ามีโอกาสติดไปกับวัสดุบรรจุภัณฑ์ไม้เหล่านี้ ได้แก่ มอดยาสูบ มอดหัวไม้ขีด แมลงทับ ด้วงเจาะไม้ ด้วงหนวดยาว ด้วงงวง ปลวก มอดไม้ ต่อหางเข็ม และไส้เดือนฝอยบางชนิด

วิธีการปฏิบัติเพื่อได้รับการรับรอง ปัจจุบันมี 2 วิธี คือ การอบด้วยความร้อน (Heat Treatment) และการรมด้วยเมทิลโบรไมด์ (methyl Bromide Fumigation) โดยวิธีการอบด้วยความร้อนต้องนำวัตถุดิบไม้ที่จะประกอบเป็นบรรจุภัณฑ์มาอบ ด้วยความร้อนจนแกนกลางของไม้ได้รับความร้อนไม่มน้อยกว่า 56 องศาเซลเซียสนานไม่น้อยกว่า 30 นาที หากเป็นการอบแห้ง (kin-drying) : KD) หรือการอัดน้ำยาด้วยแรงอัด (Chemical Pressure Impregnation : CPI) ก็ต้องให้ความร้อนและใช้เวลาในระดับเดียวกันส่วนการรมเมทิลโบรไมด์ อัตราความเข้มข้นของการใช้อุณหภูมิ จะแตกต่างกันไป แต่อุณหภูมิต่ำสุด ต้องไม่ต่ำกว่า 10 องศาเซลเซียส และระยะเวลารมต้องไม่น้อยกว่า 16 ชั่วโมง ในขณะที่วิธีการปฏิบัติอย่างอื่น ๆ เช่น การรมด้วยฟอสฟินการรรมด้วยซัลเฟอร์ฟลูโอไรด์ การอัดน้ำยา การอาบน้ำยา การฉายรังสี หรือการควบคุมบรรยากาศ หากมีข้อมูลทางวิทยาศาสตร์สนับสนุนว่าสามารถกำจัดศัตรูพืชในวัสดุบรรจุภัณฑ์ ไม่ได้ก็สามารถนำมาใช้ได้เช่นกัน

หลังจากวัสดุบรรจุภัณฑ์ไม้เหล่านี้ได้ผ่านวิธีการปฏิบัติเพื่อกำจัดศัตรูพืช ที่อาจติดไป ผู้ที่ได้รับอนุญาตให้เป็นผู้ประกอบการจะประทับตราสัญลักษณ์ลงบนวัสดุบรรจุ ภัณฑ์อย่างถาวรในบริเวณที่เห็นได้ชัดเจนอย่างน้อย 2 ด้านที่อยู่ตรงกันข้ามและต้องใช้สีเข้มข้นเท่านั้น ห้ามใช้สีแดงและสีส้มประทับ

สัญลักษณ์ที่แสดงในตราประทับ มีความหมายดังนี้ สัญลักษณ์ IPPC เป็นไปตาม ISPM หมายเลข 15 ส่วน TH หมายถึง ประเทศไทย XXX เป็นเลขทะเบียนของผู้ผลิตวัสดุบรรจุภัณฑ์ไม้ สำหรับ HT หมายถึง การอบด้วยความร้อน และ MB คือ การรมด้วยเมทิลโบรไมด์ โดยจะหรากฎเพียงอย่างใดอย่างหนึ่งตามวิธีการปฏิบัติ และอักษรย่อของหน่วยงานรับรอง ในปัจจุบันยังคงมีเพียงกรมวิชาการเกษตรเท่านั้นที่ให้การรับรองได้ ใช้อักษรย่อว่า DOA คาดว่าขยายหน่วยงานรับรองให้มากขึ้นต่อไป เพื่อรองรับปริมาณความต้องการที่จะเกิดขึ้น

ผู้ประสงค์จะนำวัสดุบรรจุภัณฑ์ไม้ที่เป็นไปตามข้อกำหนดเป็นไปตามความต้องการ ของประเทศผู้นำเข้า สามารถติดต่อขอคำแนะนำได้จาก กลุ่มบริการส่งออกสินค้าเกษตร สำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร กรมวิชาการเกษตร โทร. 0-2940-6466-8 ในวันและเวลาราชการ ส่วนผู้ที่ประสงค์จะขึ้นทะเบียนเป็นผู้ผลิตวัสดุบรรจุภัณฑ์ไม้ตามข้อกำหนด ของ ISPM หมายเลข 15 สามารถติดต่อขอขึ้นทะเบียนได้ที่กลุ่มบริการส่งออกสินค้าเกษตรเช่นกัน ซึ่งจะได้จัดเจ้าหน้าที่ที่มีความเชี่ยวชาญในเรื่องดังกล่าวเข้าไปตรวจ สอบกระบวนการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามหลักวิชาการก่อนที่ให้การรับรองต่อไป ในระยะเริ่มตอนของการดำเนินการอาจมีปัญหาอุปสรรคบ้างคงต้องค่อยเป็นค่อยไป เมื่อผู้ผลผลิตวัสดุบรรจุภัณฑ์ไม้มากขึ้น คาดหมายว่าปัญหาความล่าช้าในการดำเนินการคงลดน้อยลง

การ ค้าระหว่างประเทศทุกวันนี้ นับวันอุปสรรคเรื่องภาษีจะไม่ใช่ปัญหาใหญ่อีกต่อไป แค่ปัญหาด้านสุขอนามัยและสุขอนามัยพืชต่างหากที่ทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น จนไม่อาจทำนายได้ว่าวันพรุ่งนี้จะมีอะไรมาให้ประเทศผู้ส่งออกอย่างเราได้ ตื่นตื่นใจอีก แล้วเราจะไม่พยายามหยิบยกประเด็นเหล่านี้มาเป็นเครื่องมือบ้างหรือ?

อังคณา สุวรรณกูฎ
ผู้เขียน
(ขอบคุณ : สำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร กรมวิชาการเกษตร,
สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ/ข้อมูล)

หมวดหมู่

Leave a Comment

Scroll to Top