ศัตรูที่เข้าทำลายเนื้อไม้มีหลายจำพวก แยกออกเป็นพวกใหญ่ๆ ได้ดังนี้
- เชื้อรา
- แมลง
- เพรียง
1. เชื้อรา เป็นศัตรูสำคัญที่ทำให้ไม้ผุเสื่อมสภาพและเกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจเชื้อราที่สำคัญมี3 ประเภท คือ
1.1 เชื้อราทำลายไม้ เป็นเชื้อราที่เมื่อเข้าทำลายเนื้อไม้แล้วจะทำให้เนื้อไม้ผุยุ่ย แบ่งตามลักษณะที่ปรากฏบนไม้ภายหลังถูกทำลายดังนี้
- ราผุสีน้ำตาล เข้าทำลายไม้แล้วเนื้อไม้จะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล เนื้อไม้ยุบตัวลงและหักง่ายในทางขวางเสี้ยน
- ราผุสีขาว เข้าทำลายไม้แล้วเนื้อไม้จะมีสีซีดลง เนื้อไม้จะยุบเป็นเส้นใย
- ราผุอ่อน พบ เกิดกับไม้ที่อยู่ในที่ชื้นมากๆ หรือเปียกน้ำติดต่อกันเป็นเวลานานๆ เชื้อราจะทำลายรุนแรงบริเวณผิวนอกของไม้ มีการแตกขวางเสี้ยนคล้ายราผุสีน้ำตาล แต่มีขนาดเล็กกว่า
1.2 เชื้อราที่ทำให้ไม้เสียสี เชื้อราประเภทนี้ไม้ทำให้ไม้ผุ แต่ทำให้ไม้เสียสีไม่สวยงาม เช่น ทำให้เป็นสีน้ำเงิน สีเขียว สีเหลือง หรือสีดำ เป็นบริเวณกว้างหรือเป็นจุดกระจาย
1.3 เชื้อราผิวไม้ เชื้อ ราประเภทนี้จะเกิดบนผิวไม้เท่านั้น สามารถปัดหรือขัดออกได้มักเกิดกับไม้ที่ไม่ได้ผึ่งหรือไม้ที่อยู่ในสภาพแวด ล้อมที่เปียกหรืออับชื้น ทำให้ไม้เสียสีเฉพาะผิวนอก เชื้อราจำพวกนี้หลายชนิดเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคของระบบหายใจ
2. แมลง แมลงที่สำคัญที่เข้าทำลายไม้ทั้งในขณะยืนต้น หลังการตัดฟัน ขณะเก็บรอการนำไปใช้ประโยชน์และระหว่างการใช้งานมี 2 ชนิด คือ
2.1 ปลวก ปลวก เป็นแมลงที่เข้าทำลายไม้ที่สำคัญและทำลายความเสียหายมากที่สุดแบ่งเป็น 3 ชนิด คือ ปลวกใต้ดิน ปลวกกัดไม้แห้ง และปลวกกัดไม้เปียก ปลวกที่ทำความเสียหายมากที่สุด คือ ปลวกใต้ดิน
2.2 มอด มอด มีอยู่หลายชนิดด้วยกันและมีขนาดต่างๆ กัน แต่ชนิดที่สำคัญจะเข้าทำลายไม้จนเหลือแต่ผงคล้ายแป้ง โดยทั่วไปมอดชอบทำลายไม้ที่มีปริมาณแป้งสูง และกระพี้ไม้เท่านั้น
นอก จากปลวกและมอดแล้วยังมีแมลงทำลายไม้ชนิดอื่นๆ อีก แต่การทำลายไม้ไม่รุนแรงมากนัก ได้แก่ ด้วงหนวดยาว ด้วงงวง มด แมลงภู่ และตัวต่อทำลายไม้
3. เพรียง เพรียงเป็นตัวทำลายไม้ที่ใช้งานในน้ำแยกเป็น 2 พวก คือ
3.1 เพรียงทะเล อาศัยอยู่ในน้ำเค็ม น้ำกร่อยหรือป่าชายเลน เพรียงทะเลแบ่งตามลักษณะโครงสร้างเป็น 2 ประเภท คือ เพรียงพวกหอย และเพรียงพวกกั้ง
3.2 เพรียงน้ำจืด เพรียง น้ำจืดเป็นชื่อเรียกตัวอ่อนของแมลงชีปะขาว เราจะพบการทำลายของเพรียงน้ำจืดในไม้ที่จมอยู่ในน้ำหรือส่วนประกอบของบ้าน เรือน หรือเรือที่อยู่ในน้ำจืด
ข้อมูลจาก การใช้ประโยชน์ไม้ขั้นพื้นฐาน สำนักวิจัยการจัดการป่าไม้และผลิตผลป่าไม้ กรมป่าไม้ 2547