การตรวจสอบโรงงาน หมายถึงการตรวจสอบความถูกต้องและความพร้อมของโรงงานก่อนที่จะประกอบกิจการ โรงงานหรือ ประกอบกิจการโรงงานส่วนขยาย และการตรวจสอบโรงงานตามแผนงานหรือโครงการตรวจสอบโรงงาน และเครื่องจักรเมื่อโรงงานได้ประกอบกิจการแล้ว เพื่อให้โรงงานมีมาตรการรักษาสภาพแวดล้อมที่ดี มีความปลอดภัย ไม่สร้างความเดือดร้อนรำคาญและปฏิบัติตามกฎหมาย ซึ่งวัตถุประสงค์การตรวจสอบโรงงานมีดังนี้ * การตรวจสอบความถูกต้องก่อนเริ่มประกอบกิจการหรือก่อนเริ่มประกอบกิจการโรงงานส่วนขยาย * การตรวจสอบให้โรงงานปฏิบัติตามกฎหมาย ประเด็นสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยเพื่อโรงงานได้ประกอบ กิจการให้แล้ว 1. การเตรียมการของเจ้าหน้าที่ ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ ทบทวนข้อมูลโรงงาน เช่น การขออนุญาต กฎระเบียบและมาตรฐานต่างๆ ข้อมูลการตรวจครั้งก่อน และรายงาน ที่เกี่ยวข้องการเตรียมอุปกรณ์ต่างๆ เช่น แบบตรวจโรงงาน Check List อุปกรณ์เพื่อความปลอดภัย อุปกรณ์ ตรวจวัดและเก็บตัวอย่าง และอุปกรณ์ทั่วไป เช่น กล้องถ่ายรูป เป็นต้นอื่นๆ เช่นศึกษาคู่มือฯ แจ้งโรงงานให้เตรียม ข้อมูลที่ต้องการ เป็นต้น 2. จุดสำคัญในการตรวจสอบและแนวทางในการให้คำแนะนำ ประกอบด้วย 2.1 ด้านสิ่งแวดล้อม มีจุดสำคัญที่จะต้องตรวจสอบทางด้านสิ่งแวดล้อม ได้แก่ ระบบรวบรวมและบำบัดอากาศเสีย และ การจัดการสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว?? ?? ?? 2.2 ด้านความปลอดภัย มีจุดสำคัญที่ต้องตรวจสอบทางด้านความปลอดภัย ได้แก่ เลื่อยสายพาน/เลื่อยวงเดือน กระบอกอัดน้ำยาไม้หม้อไอน้ำ นอกจากนี้ต้องมีการตรวจสอบการปฏิบัติงานของพนักงานเนื่องจากลักษณะ อุตสาหกรรมมีการใช้คนงานเป็นจำนวนมาก รวมทั้งตรวจสอบระบบป้องกันอัคคีภัย? ? ? 1. กรณีศึกษาการเกิดอุบัติเหตุ กรณีศึกษาที่ 1 กรณีศึกษาอุบัติเหตุไฟไหม้ในโรงงานแปรรูป อัดอบน้ำยาไม้ บริเวณคลังสินค้า สาเหตุ ตู้ควบคุมไฟ (Control Panel) เกิดไฟฟ้าลัดวงจร แนวทางแก้ไขและข้อเสนอแนะ * ควรทำความสะอาดอาคาร เครื่องจักร เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้าต่าง ๆ และบริเวณที่ปฏิบัติงานให้ปราศจากฝุ่น ละอองอย่างสม่ำเสมอ * ควรติดตั้งฝาครอบตู้ควบคุมไฟฟ้าให้มิดชิดและให้ติดตั้งฝาครอบเต้าเสียบไฟฟ้า(ปลั๊กไฟ)ทั้งหมดในอาคาร * แยกเก็บสารเคมีและวัตถุไวไฟให้เป็นสัดส่วนจากผลิตภัณฑ์ และมีป้ายเตือนอันตราย * กำหนดขอบเขตพื้นที่ในการจัดเก็บไม้ยางที่แปรรูป และกำหนดความสูงในการจัดเก็บได้ไม่เกินกว่าสายไฟฟ้า ที่โยงระหว่างผนังอาคารและต้องห่างจากตู้ควบคุมไฟฟ้าผู้ควบคุมควรมีความรู้และผ่านการอบรมและขึ้นทะเบียน * ควรตรวจสอบประสิทธิภาพการทำงานของระบบกำจัดฝุ่นและมีการจัดการฝุ่นไม่ให้ค้างสะสมเกินปริมาตรความ จุของไซโล 2. กรณีศึกษาการเกิดเรื่องร้องเรียน กรณีศึกษาที่ 1 ควันจากโรงงานแปรรูป อัดอบน้ำยาไม้ สาเหตุ เกิดจากโรงงานแปรรูป อัดอบน้ำยาไม้ไม่ได้ดำเนินการติดตั้งระบบควบคุมมลพิษทางอากาศที่เกิดขึ้นจาก หม้อไอน้ำ แนวทางแก้ไขและข้อเสนอแนะ * จัดให้โรงงานแปรรูป อัดอบน้ำยาไม้ที่มีการใช้หม้อไอน้ำ ต้องติดตั้งระบบควบคุมมลพิษอากาศที่มีประสิทธิภาพ เพียงพอ * ให้โรงงานแปรรูป อัดอบน้ำยาไม้ ทำการตรวจสอบการทำงานของระบบควบคุมมลพิษอากาศอย่างสม่ำเสมอ รวมทั้งตรวจวัดคุณสมบัติของอากาศเสียที่ปล่อยออกจากปล่องควันด้วย * ตรวจสอบระบบดูดอากาศและประสิทธิภาพของไซโคลนเป็นประจำ กรณีศึกษาที่ 2 ฝุ่นละอองจากโรงงานแปรรูป อัดอบน้ำยาไม้ สาเหตุ เกิดจากโรงงานแปรรูป อัดอบน้ำยาไม้ ไม่ได้ ดำเนินการติดตั้งระบบควบคุมมลพิษทางอากาศที่เกิดขึ้นจากการเลื่อยไม้ แนวทางแก้ไขและข้อเสนอแนะ จัดให้โรงงานแปรรูป อัดอบน้ำยาไม้ ติดตั้งระบบควบคุมมลพิษอากาศที่มีประสิทธิภาพเพียงพอในการดักจับและรวบ รวมฝุ่นที่เกิดขึ้นจากการเลื่อยไม้ให้โรงงานแปรรูป อัดอบน้ำยาไม้ ทำการตรวจสอบการทำงานของระบบควบคุมมลพิษ อากาศอย่างสม่ำเสมอ |