ใบอนุญาติประกอบกิจการโรงงาน

หลักเกณฑ์การพิจรณาการออกใบอนุญาติประกอบกิจการโรงงานหรือขยายกิจการ

1 หลักเกณฑ์ทางกฎหมาย
การพิจารณาออกใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานหรือขยายโรงงาน สำหรับโรงงานอุตสาหกรรมแปรรูป อัดอบน้ำยา
ไม้จะต้องปฏิบัติตามพ.ร.บ.โรงงาน พ.ศ.2535 พ.ร.บ. การผังเมือง พ.ศ.2518 พ.ร.บ. ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่ง
แวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 หรือมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง
1.1 การขออนุญาตประกอบกิจการแปรรูปไม้ยางพารา มีหลักเกณฑ์และขั้นตอนดังนี้

  1. การรับและพิจารณาคำขออนุญาตเป็นไปตาม กฎกระทรวงฉบับที่ 5 (พ.ศ.2535) และ กฎกระทรวง
    กำหนดหลักเกณฑ์การขออนุญาต และการอนุญาตเกี่ยวกับโรงงานจำพวกที่ 3 พ.ศ.2549
  2. หลักเกณฑ์ประกอบการพิจารณาการอนุญาตโดยทั่วไปเป็นไปตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2535)
    และ ประกาศกระทรวงที่ออกตามกฎกระทรวงดังกล่าว
  3. เอกสารประกอบคำขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน/ขยายโรงงาน ตามพ.ร.บโรงงาน 2535
  4. เอกสารประกอบคำขอรับใบอนุญาตแปรรูปไม้ ตามพ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 ประกอบด้วย

Pic13

1.2 หลักเกณฑ์การพิจารณาคำขออนุญาต
หลักเกณฑ์การพิจารณาการอนุญาตโดยทั่วไปเป็นไปตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2535) และ
ประกาศกระทรวงที่ออกตามกฎกระทรวงดังกล่าวคือ การพิจารณาที่ตั้งโรงงาน ด้านสิ่งแวดล้อม ประกอบด้วย
อากาศเสีย การกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว ด้านความปลอดภัย

2 หลักเกณฑ์ทางเทคนิค
เนื่องจากการขออนุญาตตั้งโรงงาน/ขยายโรงงาน นอกเหนือจะต้องปฏิบัติให้ตามหลักเกณฑ์ทางกฎหมายแล้ว
โรงงานแปรรูป อัดอบ น้ำยาไม้ควรจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ทางเทคนิค เกี่ยวกับที่ตั้ง/สภาพแวดล้อมของ
โรงงาน อาคาร เครื่องจักร และอื่น ๆ ตามความเหมาะสมของแต่ละกิจการ

3 การจัดการด้านสิ่งแวดล้อม
3.1 มลพิษอากาศ

ระบบบำบัดอากาศเสียที่นิยมใช้ในอุตสาหกรรมแปรรูป อัด อบน้ำยาไม้ยางพาราคือระบบไซโคลน
เนื่องจากเป็นระบบที่ดูแลรักษาไม่ยาก ค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างไม่สูงมาก และสามารถดักจับฝุ่นที่มีขนาด
ใหญ่ และ น้ำหนักมากอย่างฝุ่นไม้ได้ดี
3.2 การจัดการสิ่งปฏิกูลที่ไม่ใช้แล้ว
ตามประกาศกระทรวงประกาศกระทรวงอุตสาหกรรมเรื่อง การกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว
พ.ศ.2548 ระบุชนิดและวิธีการกำจัดกากของเสียจากโรงงานแปรรูป อัด อบน้ำยาไม้ ดังนี้
ประเภท วิธีการกำจัด
รหัส ประเภทของของเสีย รหัส วิธีการกำจัดกากของเสีย
03 01 05 ขี้เลื่อย เศษไม้จากการตัดแต่งขึ้นรูปและตัดชิ้นไม้ ไม้อัดและไม้วีเนียร์ ที่ไม่ใช่ 03 01 04 041 เป็นเชื้อเพลิงทดแทน
03 02 04 น้ำยารักษาเนื้อไม้ประเภทสารอนินทรีย์ 021 กักเก็บในภาชนะบรรจุ เพื่อนำไปกำจัดต่อไป
10 01 01 เถ้าหนัก ตะกรันและฝุ่นจากหม้อน้ำที่ไม่ใช่ 10 01 04 071 ฝังกลบตามหลักสุขาภิบาลเฉพาะสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วที่ไม่เป็นอันตรายเท่านั้น
15 01 01 ถึง 09 บรรจุภัณฑ์ 011 คัดแยกประเภทเพื่อจำหน่ายต่อ

3.3 การจัดการด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัย

ในขั้นตอนการขออนุญาตประกอบกิจการของอุตสาหกรรมแปรรูป อัดอบน้ำยาไม้ มีจุดเสี่ยงที่ผู้
ประกอบการต้องให้ความสำคัญ รวมทั้งมาตรการและเกณฑ์การพิจารณา
หมวดหมู่

ใส่ความเห็น

Scroll to Top