Logistics/โลจิสติกส์ คืออะไร

โลจิสติกส์ (Logistics) คืออะไร?

โลจิสติกส์ (Logistics) เป็นคำที่มาจากภาษากรีกแปลว่า "ศิลปะในการคำนวณ" ในสมัยโบราณ รวมทั้งในสมัยปัจจุบันมีการกล่าวถึงการส่งกำลังบำรุงทางทหาร และการประสบชัยชนะ หรือความพ่ายแพ้ในสงครามโดยอาศัยความเข้มแข็ง หรือความอ่อนแอของสมรรถนะในเชิงโลจิสติกส์
คำนิยามที่ใช้นิยามการจัด การโลจิสติกส์ในระดับสากลนั้นจะเป็นคำนิยาม จาก The Council of Logistics Management (CLM) ซึ่งได้ให้คำนิยามการจัดการด้านโลจิสติกส์ไว้ว่า
" กระบวนการในการวางแผน ดำเนินการ และควบคุมประสิทธิภาพ และประสิทธิผลในการไหล การจัดเก็บวัตถุดิบ สินค้าคงคลังในกระบวนการ สินค้าสำเร็จรูป และสารสนเทศที่เกี่ยวข้องจากจุดเริ่มต้นไปยังจุดที่มีการใช้งาน โดยมีเป้าหมายเพื่อสอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภค"
นอกจากนั้นแล้ว Logistix Partners Oy, Helsinki, Fl ให้คำนิยามโลจิสติกส์ธุรกิจว่า
" โครงสร้างของการวางแผนทางธุรกิจ สำหรับการบริหารจัดการกับวัตถุดิบ การบริการการไหลของข้อมูล และเงินทุน ซึ่งรวมถึงข้อมูลที่มีความซับซ้อน การติดต่อสื่อสาร และกระบวนการควบคุม ให้ตรงกับความต้องการในสภาวะแวดล้อมทางธุรกิจปัจจุบัน
พันธกิจของ การบริหารโลจิสติกส์ คือ การวางแผนการดำเนินงานและประสานการดำเนินงานในกิจกรรมต่างๆที่มุ่งบรรลุผลใน ด้านการตอบสนอง ความต้องการของลูกค้า โดยการนำเสนอบริการและคุณภาพในระดับที่เหนือกว่า ด้วยต้นทุนการดำเนินงานที่สามารถแข่งขันได้อย่างมีประสิทธิภาพ

คำนิยามที่เกี่ยวข้อง
วิศวกรรมโลจิสติกส์ (Logistics Engineering)
โลจิสติกส์แบบย้อนกลับ (Reverse Logistics)
Production Logistics
Consumer Logistics
Third Party Logistics
Global Logistics

บทบาทของโลจิสติกส์
โลจิสติกส์เป็นกุญแจสำคัญในระบบเศรษฐกิจสองแนวทาง คือ

โลจิสติกส์เป็นรายจ่ายที่สำคัญสำหรับธุรกิจต่างๆ และจะส่งผลกระทบและได้รับผลกระทบจากกิจกรรมอื่น ในระบบเศรษฐกิจ การปรับปรุงประสิทธิผลของกระบวนการด้านโลจิสติกส์ จะส่งผลโดยตรงต่อการปรับปรุงสภาพเศรษฐกิจโดยรวมให้ดีขึ้นได้

โลจิสติกส์ได้รองรับการเปลี่ยนแปลงและกระบวนการของธุรกรรมทางเศรษฐกิจ และได้กลายเป็นกิจกรรมสำคัญในด้านการสนับสนุนการขายเสมือนหนึ่งเป็นสินค้า และบริการด้วย

โลจิสติกส์เป็นการเพิ่มอรรถโยชน์ทางด้านเวลาและสถานที่ โดยให้มีการนำสินค้าที่ลูกค้าต้องการเพื่อบริโภคหรือเพื่อการผลิตไปยังสถาน ที่ที่ต้องการ ในเวลาที่ต้องการ ในสภาพที่ต้องการ และในต้นทุนที่ต้องการ
พัฒนาการจัดการโลจิสติกส์

พัฒนาการของโลจิสติกส์ในช่วงตั้งแต่ปี ค.ศ. 1900 เป็นต้นมา อาจสรุปได้ดังนี้
โลจิสติกส์ด้านการทหาร
โลจิสติกส์ เริ่มเป็นที่รู้จักในครั้งแรกสืบเนื่องมาจากสงครามโลก ครั้งที่ 2 และสงครามอ่าวเปอร์เซีย ในความสามารถการกระจายและจัดเก็บยุทธภัณฑ์และกำลังพลอย่างมีประสิทธิภาพและ ประสิทธิผล เป็นกุญแจสำคัญในชัยชนะของกองทัพสหรัฐในครั้งนั้น
การแข่งขันที่รุนแรง
จาก การที่อัตราดอกเบี้ยและต้น ทุนด้านพลังงานสูงขึ้น โลจิสติกส์จึงได้รับความสนใจมากยิ่งขึ้น จากการที่โลจิสติกส์เป็นต้นทุน ในการดำเนินที่สำคัญตัวหนึ่ง ต้นทุนจากโลจิสติกส์จึงเป็นสิ่งที่กำหนด ความอยู่รอดสำหรับหลายๆ องค์กร นอกจากนี้อุตสาหกรรมยุคโลกาภิวัฒน์ยังได้ส่งผลกระทบ ต่อโลจิสติกส์ในหลายแนวทางดังนี้

การแข่งขันระดับโลกที่มากขึ้น โลจิสติกส์เป็นตัวตัดสินเนื่องจากองค์กรภายในประเทศจะต้องเพิ่มความน่าเชื่อ ถือ และมีการตอบสนองที่รวดเร็วต่อตลาดที่อยู่ใกล้เคียงมากกว่าคู่แข่งที่อยู่ไกล ออกไป

องค์กรที่ซื้อขายระหว่างคู่ค้า จะพบว่าโซ่อุปทานมีต้นทุนสูงและความซับซ้อนมากขึ้น การบริหารโลจิสติกสืที่ดีจึงมีความจำเป็นเพื่อสร้างโอกาสในการแข่งขันอย่าง เต็มที่ทั่วโลก
กิจกรรมหลักในการจัดการโลจิสติกส์
กิจกรรมต่างๆ ที่อยู่ในขอบข่ายการกระบวนการโลจิสติกส์ ประกอบด้วย
งานบริการลูกค้า
การวางแผนเกี่ยวกับตำแหน่งที่ตั้งของอาคารโรงงาน คลังสินค้า
การพยากรณ์และการวางแผนอุปสงค์
การจัดซื้อจัดหา
การจัดการสินค้าคงคลัง
การจัดการวัตถุดิบ
การเคลื่อนย้ายวัตถุดิบ
การบรรจุหีบห่อ
การดำเนินการกับคำสั่งซื้อ
การขนของและการจัดส่ง
โลจิสติกส์ย้อนกลับ (อาทิเช่น การจัดการสินค้าคืน)
การจัดการกับช่องทางจัดจำหน่าย
การกระจายสินค้า
คลังสินค้าและการเก็บสินค้าเข้าคลัง
การจราจรและการขนส่ง
กิจกรรมการแปรรูปเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่
การรักษาความปลอดภัย
การเชื่อมประสานกันของกิจกรรมต่างๆ เหล่านี้เพื่อบรรลุถึง ความร่วมมือกันในการวางแผน, การดำเนินการ, การควบคุมสินค้าและการบริการและการไหลของข้อมูลผ่านองค์กรอย่างประสานสอดคล้องมีประสิทธิภาพ คือ สิ่งที่รู้จักกันทุกวันนี้ว่า โลจิสติกส์

สรุปแล้ว การจัดการโลจิสติกส์ คือ กระบวนการจัดการและกระบวนการสารสนเทศ ที่ทำหน้าที่เป็นเสมือนแกนกลาง ในการแสวงหาแหล่งของวัตถุดิบและบริการ, การจัดหา, การเก็บสินค้าเข้าคลัง และการจัดส่งผลิตภัณฑ์ ที่ถูกต้องไปยังสถานที่ที่ถูกต้องในเวลาที่พอเหมาะ โดยมีการเก็บสินค้าคงคลัง, การสิ้นเปลืองเวลา ค่าใช้จ่าย, ความเพียรพยาม. และเงินทุน น้อยที่สุดเพื่อที่จะทำให้ลูกค้าพึงพอใจ อย่างมีประสิทธิผล

หมวดหมู่

ใส่ความเห็น

Scroll to Top